หน้าหลัก
Home
ข้อมูลทั่วไป
Information
บุคลากร
Personnel
แผนพัฒนา
Plan
งานการคลัง
Finance
รายงาน
Report
ศูนยฺข้อมูล
Data Center
 
  เทศบาลตำบลท่าช้าง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา : www.thachangkorat.go.th
 
 



สถานที่ท่องเที่ยว

ด้านการท่องเที่ยว

สภาพของแหล่งท่องเที่ยวเป็นโครงการที่มีการพัฒนาแบบต่อเนื่องโครงการเดิมซึ่งได้มีการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญหลายแห่ง ในอำเภอเฉลิมพระเกียรติ มีศักยภาพด้านแหล่งท่องเที่ยว ดังนี้

(๑) ไทรงาม

ไทรงาม ตั้งอยู่ริมฝั่งลำน้ำมูล บ้านใหม่ หมู่ที่ ๑๒ ตำบลท่าช้าง บนเนื้อที่ ๘ ไร่ มีอายุหลายร้อยปี มีความสวยงามมาก แผ่กิ่งก้านสาขาอวดสายตาแก่ผู้ได้พบเห็น ต่างออกปากชมว่าสวยและสมบูรณ์กว่าที่อื่นที่เคยพบเห็นมาในเทศบาลวันสงกรานต์ของทุกปี ชาวท่าช้างได้ร่วมกันจัดงานวันสงกรานต์ขึ้นที่บริเวณไทรงามตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๐๐ จนถึงปัจจุบัน ซึ่งขณะนี้ทางอำเภอได้ปรับปรุงพื้นที่ไทรงามไว้รองรับนักท่องเที่ยวให้ได้รับความสะดวกและปลอดภัยในทุก ๆ ด้าน

การเดินทางไปชมไทรงาม หากเดินทางจากตัวเมืองนครราชสีมา ตามถนนสาย จักราชถึงหน้าที่ว่าการอำเภอเฉลิมพระเกียรติ แล้วเลี้ยวซ้ายตามถนนคอนกรีตข้ามสะพานบ้านมะดันรัฐ ถึงโรงเรียนไทรงามเฉลิมพระเกียรติเลี้ยวขวาตามถนนลูกรังผ่านบ้านใหม่ แล้วก็ให้เลี้ยวขวาอีกครั้งตามทางรถยนต์ ระยะทางประมาณ ๑๕๐ เมตร ก็จะพบไทรงามระยะทางทั้งสิ้นประมาณ ๒ กิโลเมตร จากหน้าที่ว่าการอำเภอเฉลิมพระเกียรติ

(๒)  ล่องแพแม่น้ำมูล

เนื่องจากสภาพลำน้ำมูลมีน้ำตลอดปี สามารถรักษาปริมาณน้ำอย่างเพียงพอเนื่องจากมีเขื่อนยางกั้นน้ำ ทางอำเภอจึงได้ส่งเสริมให้ภาคเอกชนดำเนินการจัดล่องแพ ซึ่งก็ได้รับความเห็นชอบจากหัวหน้าส่วนราชการ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน การล่องแพรับนักท่องเที่ยวจึงเกิดขึ้น มีนักธุรกิจในพื้นที่จำนวน ๒ ราย จัดให้มีการล่องแพนำเที่ยวลำน้ำจากสะพานรถไฟถึงไทรงาม เพื่อชมแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ ๆ และความงามของธรรมชาติริมฝั่งแม่น้ำมูล

(๓)  เขื่อนยาง

ตั่งอยู่ที่บ้านส้ม หมู่ที่ ๑ ตำบลช้างทอง กรมชลประทานได้ก่อสร้างเพื่อยกระดับกักเก็บน้ำของ     ลำน้ำมูล การควบคุมน้ำในลำมูลจะเป็นระบบปั๊มลม หากน้ำมีระดับต่ำจะมีเครื่องปั๊มลงไปยังสันเขื่อนยางเพื่อรักษาระดับ หากมีน้ำมากลมก็จะถูกปล่อยจากสันเขื่อนปล่อยน้ำไป โดยปกติจะมีน้ำไหลล้นเขื่อนยางตลอดเวลา คล้ายกับฝายแต่มีขนาดใหญ่กว่ามาก สำหรับเขื่อนยางหากได้ล่องแพตามลำน้ำมูลก็จะมาหยุดมีเขื่อนยาง ประโยชน์ของเขื่อนยาง นอกจากเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง   ราษฎรยังใช้ในการประมง และผลพลอยได้จากการท่องเที่ยว

(๔)  อนุสรณ์สถานข้างสะพานรถไฟ

เป็นสะพานรถไฟ สำหรับข้ามลำน้ำมูล ตั้งอยู่ที่บ้านตะกุดขอน ตำบลท่าช้าง ในอดีตเมื่อวันที่  ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๖๔ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ได้ทรงเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรตรวจการก่อสร้าง และเสวยพระกระยาหาร ณ บริเวณกองอำนวยการควบคุมการก่อสร้าง ซึ่งถือ

เป็นเกียรติประวัติศาสตร์และมหามงคลยิ่งแก่ไพร่ฟ้า และพสกนิกรของพระองค์ขณะนั้นและมีหลักฐานจารึก

ของอนุสรณ์ บริเวณเชิงสะพาน

จากเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ที่กล่าวข้างต้น ชาวอำเภอเฉลิมพระเกียรติ ได้มีความเห็นพ้องต้องกันว่า ควรที่จะได้มีการอนุรักษ์ และพัฒนาพื้นที่ตรงนี้ไว้ ให้เป็นอนุสรณ์ทางประวัติศาสตร์และเป็นสถานที่ท่องเที่ยว

(๕)  อาคารแสดงโครงกระดูกซากช้างโบราณ เทศบาลตำบลท่าช้าง

ซากช้างโบราณถูกค้นพบจากบ่อทรายที่อำเภอเฉลิมพระเกียรติทุกบ่อทรายจะมีสภาพชิ้นส่วนของซากแตกต่างกันไปแต่ละบ่อมีความลึกประมาณ ๒๐ - ๔๐ เมตร จากระดับดินเดิมจะพบซากสัตว์ต่าง ๆ มากมาย     โดยเฉพาะซากช้างโบราณยุคดึกดำบรรพ์   ซึ่งผู้เชี่ยวชาญจากกรมทรัพยากรธรณี สถาบันราชภัฎนครราชสีมาและต่างประเทศได้วินิจฉัยว่าเป็นซากช้างโบราณ กอมโฟเธอเรียม มีความสูงประมาณ ๒ เมตร    มีงวงสั่นกว่าช้างปัจจุบัน มีงาตรง ๒ คู่ จากขากรรไกรบนและล่างเป็นช้างที่มีวิวัฒนาการมาจากช้างรุ่นแรก ๆ ดินแดนอียิปต์ ที่มีขนาดเท่าหมูใหญ่ที่มีชื่อ “โมริเธอเรียม” สำหรับที่พบที่ตำบลท่าช้างนี้ อายุตอนปลายของสมัยไมโอซีนตอนกลาง มีอายุราว ๑๓-๑๕ ล้านปีก่อน ขณะนี้ชิ้นส่วนกระดูกช้างส่วนหนึ่งเก็บรักษาไว้ที่อาคารแสดงโครงกระดูกซากช้างโบราณ ของเทศบาลตำบลท่าช้าง ข้างที่ว่าการอำเภอเฉลิมพระเกียรติ ซึ่งกรมทรัพยากรธรณี ได้แจ้งว่าผลการตรวจซากดึกดำบรรพ์ จากบ่อทรายตำบลท่าช้าง ยืนยันว่าเป็นชิ้นส่วนของช้างที่สูญพันธุ์ไปหมดแล้ว มีอยู่ ๓ ชนิด คือ

๑.      ช้างกอมโฟเธอเรียม มีงา ๒ คู่ อายุ ๒๕-๑๓ ล้านปี

๒.      ช้างสเตโกโลโฟดอน มีอายุ ๒๕-๔ ล้านปี

๓.      ช้างไดโนเธอเรียม เป็นช้าง ๒ งา ๑ คู่ อายุ ๒๕๑.๗ ล้านปี

"ติดต่อเข้าชมอาคารแสดงโครงกระดูกซากช้างโบราณได้ที่  สำนักงานเทศบาลตำบลท่าช้าง  หมายเลขโทรศัพท์     0 4432 1422 ต่อ 13  ในวันและเวลาราชการ " 

 

- จำนวนผู้เข้าชม จำนวน 930959 คน ตั้งแต่วันที่ 25 สิงหาคม 2563 - ปัจจุบัน