ที่ตั้งและอาณาเขต
เทศบาลตำบลท่าช้าง ตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลท่าช้าง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา โดยมีระยะทางถึงกรุงเทพฯ ประมาณ ๒๘๕ กิโลเมตร และมีจำนวนพื้นที่ทั้งสิ้น ๘ ตารางกิโลเมตรมีอาณาเขตติดต่อดังนี้
ทิศเหนือ ตั้งแต่หลักเขตที่ ๑ ซึ่งตั้งอยู่ริมทางหลวงจังหวัดหมายเลข ๒๑๖๒ แยกทางหลวงหมายเลข ๒๒๖ (นครราชสีมา) - (บุรีรัมย์) ฟากเหนือ ตรงคอสะพานข้ามแม่น้ำมูลฝั่งตะวันตก
จากหลักเขตที่ ๑ เป็นเส้นเลียบริมแม่น้ำมูล ฝั่งตะวันตก และฝั่งเหนือไปทางทิศเหนือ และทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ถึงหลักเขตที่ ๒ ซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำมูล ฝั่งตะวันตกตรงจุดที่อยู่ในแนวเส้นตั้งฉากกับศูนย์กลางถนนไปบ้านส้ม ตรงจุดที่อยู่ห่างจากจุดศูนย์กลางที่คลองส่งน้ำโครงการสูบน้ำด้วยไฟฟ้าคลองซ้ายใหญ่ (สายเอ เดิม) บรรจบกับถนนไปบ้านส้ม ตามแนวถนนไปบ้านส้ม ไปทางทิศเหนือระยะ ๑๐๐ เมตร
จากหลักเขตที่ ๒ เป็นเส้นตั้งฉากกับศูนย์กลางถนนไปบ้านส้ม ไปทางทิศตะวันออกผ่านถนนไป บ้านส้ม ถึงหลักเขตที่ ๓ ซึ่งตั้งอยู่ริมถนนไปบ้านส้มฟากตะวันออก ตรงจุดที่อยู่ห่างจากจุดศูนย์กลางที่คลองส่งน้ำโครงการสูบน้ำด้วยไฟฟ้า คลองซ้ายใหญ่ (สายเอ เดิม) บรรจบกับถนนไปบ้านส้ม ตามแนวถนนไปบ้านส้ม ไปทางทิศเหนือ ระยะ ๑๐๐ เมตร
ทิศตะวันออก จากหลักเขตที่ ๓ เป็นเส้นเลียบริมถนนไปบ้านส้ม ฟากตะวันออกไปทางทิศใต้ และเลียบริมคลองส่งน้ำโครงการสูบน้ำด้วยไฟฟ้า คลองซ้ายใหญ่ (สายเอ เดิม) ฝั่งตะวันออก ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ผ่านคลองซอย ๑ ซ้ายเดิม ถึงหลักเขตที่ ๔ ซึ่งตั้งอยู่ริมคลองซอย ๑ ซ้ายเดิม ฝั่งใต้ ตรงจุดที่แนวริมคลองส่งน้ำ โครงการสูบน้ำด้วยไฟฟ้า คลองซ้ายใหญ่ (สายเอ เดิม) ฝั่งตะวันออกบรรจบกับริมคลองซอย ๑ ซ้ายเดิม ฝั่งใต้
จากหลักเขตที่ ๔ เป็นเส้นเลียบริมคลองซอย ๑ ซ้ายเดิม ฝั่งใต้ ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ระยะ ๕๕๐ เมตร และเป็นเส้นตรงไปทางทิศใต้ ผ่านทางหลวงจังหวัดหมายเลข ๒๑๖๒ แยกทางหลวงหมายเลข๒๒๔ (นครราชสีมา) – กระสัง (บุรีรัมย์) ถึงหลักเขตที่ ๕ ซึ่งตั้งอยู่ริมทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ ฟากเหนือ ตรงจุดที่ริมทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ ฟากเหนือ ตัดกับแนวเขตป่าสงวนแห่งชาติ (หนองเต็ง – จักราช)
จากหลักเขตที่ ๕ เป็นเส้นเลียบแนวเขตป่าสงวนแห่งชาติ (หนองเต็ง – จักราช) ไปทางทิศใต้ ถึงหลักเขตที่ ๖ ซึ่งตั้งอยู่ตรงแนวเขตป่าสงวนแห่งชาติ (หนองเต็ง – จักราช) ตามแนวเส้นขนานกับศูนย์กลางทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ ระยะ ๑,๐๐๐ เมตร
ทิศใต้ จากหลักเขตที่ ๖ เป็นเส้นขนานกับศูนย์กลางทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ ระยะ ๑,๐๐๐ เมตร ไปทางทิศตะวันตก ผ่านถนน รพช.นม. ๑๑๐๔๕ ท่าช้าง–หนองหัวแรด และแม่น้ำมูล ถึงหลักเขตที่ ๗ ซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำมูล ฝั่งเหนือ
ทิศตะวันตก จากหลักเขตที่ ๗ เป็นเส้นเลียบริมแม่น้ำมูล ฝั่งเหนือ และฝั่งตะวันตกไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ผ่านทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือและทางหลวงจังหวัดหมายเลข ๒๑๖๒ แยกทางหลวงหมายเลข ๒๒๔ (นครราชสีมา) – กระสัง (บุรีรัมย์) บรรจบหลักเขตที่ ๑
แผนที่เทศบาลตำบลท่าช้างโดยสังเขป
สภาพภูมิประเทศ
สภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นที่ราบสูง มีแม่น้ำมูล ลำบริบรูณ์ และลำห้วย ๒ สาย ไหลผ่านพื้นที่ของเขตเทศบาล และประชาชนใช้เป็นแหล่งน้ำในการเพาะปลูก อุปโภคและบริโภค
สภาพภูมิอากาศ
ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม – พฤษภาคม ของทุกปี มีอุณหภูมิเฉลี่ย ๓๓ องศาเซลเซียส
ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน – กันยายนของทุกปี ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย ๗๙.๖๐ มิลลิเมตร
ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม – กุมภาพันธ์ของทุกปี มีอุณหภูมิเฉลี่ย ๒๕ องศาเซลเซียส
ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
(๑) การคมนาคมขนส่ง
ทางบก จากจังหวัดนครราชสีมา สามารถเดินทางได้ คือ
๑) เส้นทางหลวงหมายเลข ๒๒๖ จากจังหวัดถึงอำเภอ ระยะทางประมาณ ๑๘ กิโลเมตร จากจังหวัดถึงอำเภอสามารถเดินทางต่อไปได้ถึงจังหวัดบุรีรัมย์ สุรินทร์ อุบลราชธานี และเส้นทางที่ตัดไปยังจังหวัดอื่น ๆ อีก นอกจากรถโดยสารที่วิ่งระหว่างจังหวัดนครราชสีมา หรือจากกรุงเทพฯ ถึงบุรีรัมย์ สุรินทร์ อุบลราชธานี และยังมีรถประจำทางเป็นรถโดยสารขนาดกลาง และรถสองแถววิ่งระหว่าง จังหวัดนครราชสีมา – ท่าช้าง (เขตสุขาภิบาลท่าช้าง) อีกด้วย
๒) เส้นทางหลวงหมายเลข ๒ จากกรุงเทพฯ–นครราชสีมา–ขอนแก่น จากถนนหมายเลข ๒ เมื่อออกจากจังหวัดนครราชสีมา ถึงทางแยกเข้าวัดพนมวัน และเขตตำบลหนองงูเหลือม สามารถตัดเข้าอำเภอเฉลิมพระเกียรติได้
๓) เส้นทางจากอำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา เมื่อถึงบ้านด่านเกวียน สามารถเลี้ยวเข้าถนนของกรมโยธาธิการ มาออกที่บ้านพระพุทธเขตอำเภอเฉลิมพระเกียรติ โดยเป็นถนนลาดยางมาตรฐาน
๔) ทางรถไฟเดินทางโดยขบวนรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือกรุงเทพฯ - อุบลราชธานี กรุงเทพฯ – สุรินทร์ มีรถผ่านเป็นประจำทุกวัน
ทางอากาศ กรมการบินพาณิชย์ได้ก่อสร้างท่าอากาศยานนครราชสีมา แห่งใหม่ขึ้นที่บ้าน หนองเต็ง ตำบลช้างทอง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ ขณะนี้กำลังดำเนินการขอรับการสนับสนุนให้สนามบินพาณิชย์แห่งใหม่นี้ เป็นสนามบินนานาชาติให้สามารถรองรับเครื่องบินได้ทุกขนาด
(๒) การไฟฟ้า
มีหน่วยบริการผู้ใช้ไฟฟ้าสังกัดการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค อำเภอเฉลิมพระเกียรติ ปริมาณการผลิตกระแสไฟฟ้าเพียงพอกับความต้องการชองประชาชนภายในเขตเทศบาล โดยจะมีไฟฟ้าใช้ทุกหมู่บ้าน แต่เทศบาลยังขาดระบบไฟฟ้าสาธารณะครอบคลุมทั่วพื้นที่
(๓) การไปรษณีย์
ระบบการสื่อสารในเขตเทศบาลตำบลท่าช้าง จะมีที่ทำการไปรษณีย์หมู่บ้าน ๑ แห่ง อยู่ภายใต้การดำเนินการของภาคเอกชน
(๔) การโทรศัพท์
มีโทรศัพท์สาธารณะติดตั้งประมาณ ๑๗ เครื่อง ซึ่งยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของประชาชนภายในเขตเทศบาล และโทรศัพท์เคลื่อนที่ มีทั้งหมดประมาณ ร้อยละ ๖๐ ต่อประชากรทั้งหมด
(๕) การธนาคาร
มีธนาคารอยู่ในเขตเทศบาลตำบลท่าช้าง จำนวน ๑ แห่ง คือธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร แต่มีการบริการตู้เอทีเอ็ม ของธนาคารกรุงไทย จำนวน ๑ แห่ง ธนาคารออมสิน ๑ แห่ง ธนาคารไทยพาณิชย์ ๑ แห่ง และธนาคารกรุงเทพ ๑ แห่ง
(๖) การประปา
เทศบาลไม่มีการประปาบริการประชาชนภายในเขตเทศบาล เนื่องจากการประปาอยู่ในความรับผิดชอบของการประปาส่วนภูมิภาคจังหวัดนครราชสีมา
(๗) การกีฬา นันทนาการ
เทศบาลมีแหล่งนันทนาการและพักผ่อน ดังนี้
- มีสวนสาธารณะ จำนวน ๓ แห่ง
- ห้องสมุดประชาชน จำนวน ๒ แห่ง
- ลานกีฬาจำนวน ๔ แห่ง
(๘) สภาพการจราจร
ในเขตเทศบาลจะมีปัญหามาก เพราะสภาพการจราจรถนนที่เชื่อมระหว่างหมู่บ้านส่วนใหญ่จะเป็นถนนลูกรังผสมหินกรวด ในช่วงฤดูฝนจะทำให้เป็นหลุมเป็นบ่อเกิดน้ำท่วมขัง ถนนเกิดการชำรุดเสียหายเนื่องจากการกัดเซาะของน้ำ จากเหตุที่ถนนสร้างไม่ได้มาตรฐานนี้ทำให้ประชาชนภายในเขตที่ใช้เส้นทางสัญจรไปมาได้รับความเดือดร้อนประกอบกับประชาชนส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม ทำให้การส่งสินค้าและพืชผลต่าง ๆ ทางการเกษตรเป็นไปด้วยความลำบาก
- ถนนในเขตเทศบาลตำบลท่าช้าง
๑) ถนนคสล. จำนวน ๑๒๓ สาย
๒) ถนนดิน จำนวน ๑๔ สาย
๓) ถนนลูกรัง จำนวน ๒๐ สาย
๔) ถนนลาดยาง จำนวน ๔ สาย
- สะพานในเขตเทศบาลตำบลท่าช้าง
๑) สะพานคอนกรีต จำนวน ๒ แห่ง
๒) สะพานเหล็ก จำนวน ๑ แห่ง
(๙) การใช้ประโยชน์ที่ดิน
ที่
|
บ้าน
|
พื้นที่รวมทั้งหมู่บ้าน
|
ที่ราบ
%
|
แหล่งน้ำ
%
|
ประเภทการใช้พื้นที่ (%)
|
จำนวน(ไร่)
|
ร้อยละ
ของพื้นที่
|
ที่อยู่อาศัย
|
พาณิชย์
|
เกษตร
|
ประมง
|
สาธารณะ
|
๑
|
บ้านขาม
|
๘๒๕
|
๑๖.๕
|
๘๐
|
๒๐
|
๔
|
๕
|
๗๐.๕
|
๓
|
๐.๕
|
๒
|
บ้านหนองหอย
|
๘๗๕
|
๑๗.๕
|
๙๗
|
๓
|
๑๕
|
๓
|
๗๗.๕
|
-
|
๑.๕
|
๓
|
บ้านโนนสะเดา
|
๔๐๖
|
๘.๑๓
|
๙๗
|
๓
|
๑๕
|
๑.๗
|
๘๐
|
-
|
๐.๓
|
๔
|
บ้านช่องโค
|
๗๕๐
|
๑๕
|
๗๕
|
๒๕
|
๒๐
|
๑๐
|
๒๕
|
๕
|
๒๐
|
๕
|
บ้านมะดัน
|
๖๘๑
|
๑๓.๖๓
|
๖๕
|
๓๕
|
๒๘
|
๑๒
|
๒๔.๕
|
๕
|
๐.๘
|
๖
|
บ้านหนองบัว
|
๕๐๐
|
๑๐
|
๖๐
|
๔๐
|
๑๕
|
๔.๒
|
๔๐
|
๓
|
๐.๘
|
๗
|
บ้านท่าช้าง
|
๓๑๓
|
๖.๒๕
|
๘๕
|
๑๕
|
๔๐
|
๙.๘
|
๓๕
|
-
|
๐.๒
|
๘
|
บ้านตลาดท่าช้าง
|
๕๐๐
|
๑๐
|
๙๗
|
๓
|
๓๕
|
๕๐
|
๑๑.๘
|
-
|
๐.๒
|
๙
|
ชุมชนตำรวจ
|
๑๓๑
|
๒.๖๑
|
๙๘
|
๒
|
๖๕
|
๓
|
๒๗.๗
|
-
|
๒.๓
|
|