หน้าหลัก
Home
ข้อมูลทั่วไป
Information
บุคลากร
Personnel
แผนพัฒนา
Plan
งานการคลัง
Finance
รายงาน
Report
ศูนยฺข้อมูล
Data Center
 
  เทศบาลตำบลท่าช้าง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา : www.thachangkorat.go.th
 
 



วิสัยทัศน์ / พันธกิจ / ยุทธศาสตร์

วิสัยทัศน์เทศบาลตำบลท่าช้าง (Vision)

     " ท่าช้างเป็นเมืองน่าอยู่   สถานที่น่าท่องเที่ยว   ชุมชนเข้มแข็ง ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี  มีการบริหารจัดการที่ดี ”

พันธกิจ (Mission)

1. พันธกิจการพัฒนาเทศบาลตำบลท่าช้าง (Mission)

      1)  ส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยว

      2)  ส่งเสริมและพัฒนาประสิทธิภาพทางการเมือง การมีส่วนร่วมและการบริหารจัดการที่ดี

      3)  พัฒนาและส่งเสริมระบบเศรษฐกิจชุมชนและแก้ไขปัญหาความยากจน

      4)  ส่งเสริมการพัฒนาระบบการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

      5)  พัฒนาระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการและโครงสร้างพื้นฐาน

      6)  ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิต คุณค่าทางสังคมและความเข้มแข็งของชุมชน

      7)  ส่งเสริมและพัฒนาการรักษาความสงบเรียบร้อยและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

2. จุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนา (Goals)

      1) ระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการ การคมนาคมสะดวกสบาย ทั่วถึง และรองรับการขยายตัวของชุมชนในอนาคต

      2) ส่งเสริมการศึกษาในทุกระดับให้เป็นการศึกษาอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต

      3) ส่งเสริม ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่นให้คงอยู่ตลอดไป

      4) ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี สุขภาพดีถ้วนหน้า มีรายได้เพียงพอ ยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน และดำรงชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง

      5) ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน มีส่วนร่วมรับผิดชอบท้องถิ่น และมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการท้องถิ่นของตน

      6) ประชาชนได้รับการดูแลให้มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

3. ยุทธศาสตร์การพัฒนาเทศบาลตำบลท่าช้าง ได้กำหนดยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาไว้ 5 ยุทธศาสตร์ ดังนี้      

      1. ยุทธศาสตร์ด้านโครงการตามแนวทางพระราชดำริ

          แนวทางการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์  ดังนี้

          1.1 ประสานและบริหารการจัดการน้ำ ตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เมื่อปี 2538 เพื่อแก้ไขและป้องกันปัญหาอุทกภัยอย่างเป็นระบบ

          1.2 พัฒนาขุดลอก คูคลองและจัดสร้างแหล่งน้ำ สงวนและเก็บกักน้ำเพื่อการเกษตร เพื่อการอุปโภคแลบริโภค รวมทั้งวางโครงการเพื่อแก้ไขปัญหา       น้ำท่วมและน้ำแล้ง

          1.3 พัฒนาชุมชนและสังคมตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

        2. ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต

          แนวทางการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์  ดังนี้

          2.1 ส่งเสริมและพัฒนาระบบการศึกษาของโรงเรียน ให้เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษา

          2.2 พัฒนาและเตรียมบุคลากรด้านการศึกษา (ครู บุคลากรทางการศึกษา นักเรียน) ให้เป็นผู้มีคุณภาพมีทักษะและศักยภาพตามมาตรฐานสากล รองรับประชาคมอาเซียน

          2.3 สนับสนุนให้มีการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เป็นเครื่องมือและประกอบการศึกษา

          2.4 สนับสนุนการจัดตั้งกองทุน และเพิ่มสวัสดิการเพื่อพัฒนาศักยภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน (อสม.)

          2.5 ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการรักษาพยาบาลประชาชนในระดับตำบล หมู่บ้านและชุมชนที่มีคุณภาพและมาตรฐาน เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการที่ดี ทั่วถึง และทันเหตุการณ์ โดยร่วมมือกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และหน่วยงาน หรือองค์กรที่เกี่ยวข้อง

          2.6 ส่งเสริมสุขภาพและอนามัยของประชาชนในระดับหมู่บ้านและชุมชน ให้มีสุขภาพแข็งแรง โดยให้การเรียนรู้การดูแลสุขภาพการออกกำลังกาย การป้องกันโรค การใช้ยาอย่างถูกต้อง และการเข้ารับการตรวจสุขภาพหรือการรับบริการด้านสาธารณสุขตามขั้นตอนและวิธีการทางการแพทย์

          2.7 ส่งเสริมและพัฒนาบทบาทของคณะกรรมการหมู่บ้านและชุมชนให้เข้มแข็งเพื่อเป็นผู้นำการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่นที่มีคุณภาพสามารถพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน

          2.8 ส่งเสริมโครงการพัฒนาระดับหมู่บ้าน เพิ่มศักยภาพสร้างความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน

          2.9 ส่งเสริม พัฒนาบทบาทและคุณภาพชีวิตของสตรี ผู้สูงอายุ  ผู้พิการ และผู้ด้อยโอกาสโดยการจัดกิจกรรมที่เหมาะสมและดำเนินการให้เกิดกองทุน หรือจัดหางบประมาณ เพื่อดำเนินการพัฒนาบทบาทและคุณภาพชีวิตอย่างต่อเนื่อง

          2.10  ส่งเสริม พัฒนาคุณภาพของเด็กและเยาวชน เพื่อเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพของสังคมต่อไปในอนาคต

          2.11  ส่งเสริมพัฒนาคุณภาพและศักยภาพตามความสามารถของแรงงานในท้องถิ่น

          2.12  ดำเนินการ สนับสนุน และประสานการปฎิบัติเพื่อป้องกันและให้มีการปราบปรามและแก้ไขปัญหาการเสพ การผลิต การจำหน่ายยาเสพติดในทุกระดับ

          2.13  ดำเนินการโครงการ เทศบาลสัญจรเพื่อให้บริการประชาชนและรับทราบปัญหาอุปสรรค และความต้องการของประชาชนในพื้นที่

          2.14  ส่งเสริมและประกาศเกียรติคุณผู้ที่เป็นแบบอย่างที่ดี และสร้างคุณประโยชน์ต่อสังคม

          2.15  ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมลานกีฬาชุมชน และจัดการแข่งขันกีฬาประเภทต่าง ๆ ตั้งแต่ระดับหมู่บ้านจนถึงระดับจังหวัดเพื่อให้เยาวชน นักเรียน นักศึกษา เกิดความสนใจและมีแรงจูงใจในกิจกรรมกีฬา รวมถึงการสร้างความเป็นเลิศทางด้านกีฬาสู่กีฬาอาชีพในระดับชาติและนานาชาติ

       3. ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ

           แนวทางการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์  ดังนี้

           3.1 พัฒนา ปรับปรุงพันธุ์พืชและเมล็ดพันธุ์พืชที่ดีคุณภาพเพื่อเกษตรกรจะได้เพิ่มผลผลิต โดยส่งเสริมให้เกิดเกษตรอุตสาหกรรม

           3.2 ลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตร

           3.3 สนับสนุนการจัดตั้งกองทุนเพื่อเกษตรกรในหมู่บ้าน (อกม.)

           3.4 ส่งเสริมสนับสนุนการแปรรูปสินค้าทางการเกษตรอย่างมีคุณภาพ นำเครื่องจักร และเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าและปริมาณสินค้าคุณภาพในท้องถิ่น

           3.5 สนับสนุนการทำการเกษตรทางเลือก

           3.6 ส่งเสริมประชาชนในท้องถิ่นให้มีการเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจ เพื่อการบริโภคและเพื่อการอนุรักษ์และเพิ่มรายได้

       4. ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาเมือง

           แนวทางการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์  ดังนี้

           4.1 ส่งเสริมสนับสนุนการวางระบบการพัฒนาด้านโครงสร้างคุณภาพชีวิตพื้นฐาน ให้สอดคล้องกับความจำเป็นและความต้องการของประชาชนในการดำรงชีวิตอย่างพอเพียง

           4.2 ก่อสร้าง ปรับปรุงเส้นทางการคมนาคมอย่างทั่วถึง ให้สามารถตอบสนองความต้องการ และแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน โดยเฉพาะเส้นทางการขนส่งผลผลิตทางการเกษตร แหล่งท่องเที่ยว และพื้นที่อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตของประชาชน

           4.3 ประสาน สนับสนุน ร่วมมือกับส่วนราชการ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นๆ เพื่อสนับสนุนเครื่องมือ เครื่องจักรกล ตลอดจนผู้ปฎิบัติงานที่มีความชำนาญในการก่อสร้างปรับปรุงเส้นทางคมนาคม

           4.4 ประสานในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในด้านสาธารณูปโภค

           4.5 พัฒนาฟื้นฟูและส่งเสริมกิจกรรมด้านศาสนา ศิลปวัฒนธรรมและประเพณีของชุมชนท้องถิ่นโคราช เพื่อการอนุรักษ์สืบสานและเชื่อมโยงสู่กิจกรรมการท่องเที่ยว

           4.6 พัฒนาและฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยวเดิม สร้างแหล่งท่องเที่ยวใหม่ รวมทั้งกิจกรรมด้านการท่องเที่ยว และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ และสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวของจังหวัดนครราชสีมาเพิ่มขึ้น โดยร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัด หน่วยงานและส่วนราชการ ตลอดจนองค์กรภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง

           4.7 สนับสนุนและส่งเสริมความสามารถของผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว และสร้างเครือข่าย เพื่อพัฒนาคุณภาพสินค้าและบริการ โดยการจับคู่ธุรกิจพัฒนาคุณภาพสินค้าและขยายตลาด  สินค้าทั้งภายใน ประเทศและต่างประเทศ

           4.8 ส่งเสริมและสนับสนุนการติดตั้งระบบเตือนภัยธรรมชาติ และภัยพิบัติต่าง ๆ

           4.9 ส่งเสริม สนับสนุนและร่วมมือกับส่วนราชการ หน่วยงาน มูลนิธิการกุศลและองค์กรที่เกี่ยวข้อง ในการเตรียมความพร้อมในการป้องกันภัย และการช่วยเหลือผู้ประสบภัย

           4.10  ส่งเสริม และสนับสนุนการติดตั้งระบบกล้องวงจรปิดในเขตชุมชนและสถานที่สำคัญ เพื่อสร้างความอบอุ่นใจ และความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน

           4.11  สนับสนุนการฝึกอบรมจัดตั้งและอบรมฟื้นฟูตำรวจบ้านและอาสาสมัครป้องกันฝ่ายพลเรือน (อปพร.) เพื่อเป็นกำลังสนับสนุนเจ้าหน้าที่รัฐ และดูแลรักษาความปลอดภัยและการจราจรในชุมชนหมู่บ้าน

           4.12 ส่งเสริมสนับสนุนและร่วมมือกับส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน ในการพัฒนาฟื้นฟูและอนุรักษ์แหล่งน้ำ ลุ่มน้ำลำคลอง และป่าไม้ให้มีความอุดมสมบูรณ์

           4.13 ส่งเสริม สนับสนุนและร่วมมือกับส่วนราชการ  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคเอกชน ในการรณรงค์สร้างจิตสำนึก เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษและปัญหาสิ่งแวดล้อมของชุมชนท้องถิ่นทุกระดับ

           4.14 ส่งเสริม สนับสนุนและสร้างความร่วมมือกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้ององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดทำระบบกำจัดขยะรวม เพื่อจัดการขยะมูลฝอยและสิ่งปฎิกูลอย่างเป็นระบบ

       5. ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ

           แนวทางการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์  ดังนี้

           5.1 ปรับปรุงโครงสร้างการบริหารงานของเทศบาลตำบลท่าช้าง เพื่อให้รองรับการปฎิบัติภารกิจหน้าที่ ตามที่กฎหมายกำหนดอย่างมีประสิทธิภาพ

           5.2 นำระบบสารสนเทศมาใช้ในการบริหารงานภายในองค์กร เพื่อให้บริการกับประชาชนให้สะดวก รวดเร็ว แม่นยำ โดยยึดถือประโยชน์สูงสุดของประชาชน ผู้รับบริการเป็นสำคัญ

           5.3 สนับสนุนบุคลากรของเทศบาลตำบลท่าช้างให้ได้รับการศึกษา อบรมการทำวิจัยเพิ่มพูนความรู้ เพื่อยกระดับประสิทธิภาพ การทำงานให้เกิดประสิทธิผลในการบริการประชาชน

           5.4 บูรณาการการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น ร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐ และเอกชนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อพัฒนาท้องถิ่น สร้างประโยชน์สูงสุด แก่ประชาชนในเขตเทศบาล

           5.5 เปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้ามีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและความต้องการของประชาชนในการพัฒนาของเทศบาล

                  

- จำนวนผู้เข้าชม จำนวน 928047 คน ตั้งแต่วันที่ 25 สิงหาคม 2563 - ปัจจุบัน