หน้าหลัก
Home
ข้อมูลทั่วไป
Information
บุคลากร
Personnel
แผนพัฒนา
Plan
งานการคลัง
Finance
รายงาน
Report
ศูนยฺข้อมูล
Data Center
 
  เทศบาลตำบลท่าช้าง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา : www.thachangkorat.go.th
 
 



สภาพทั่วไป

 ที่ตั้งและอาณาเขต

         เทศบาลตำบลท่าช้าง ตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลท่าช้าง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ   จังหวัดนครราชสีมา โดยมีระยะทางถึงกรุงเทพฯ ประมาณ ๒๘๕ กิโลเมตร และมีจำนวนพื้นที่ทั้งสิ้น ๘ ตารางกิโลเมตรมีอาณาเขตติดต่อดังนี้

         ทิศเหนือ ตั้งแต่หลักเขตที่ ๑ ซึ่งตั้งอยู่ริมทางหลวงจังหวัดหมายเลข ๒๑๖๒ แยกทางหลวงหมายเลข ๒๒๖ (นครราชสีมา) -   (บุรีรัมย์) ฟากเหนือ   ตรงคอสะพานข้ามแม่น้ำมูลฝั่งตะวันตก

         จากหลักเขตที่ ๑  เป็นเส้นเลียบริมแม่น้ำมูล ฝั่งตะวันตก และฝั่งเหนือไปทางทิศเหนือ และทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ถึงหลักเขตที่ ๒ ซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำมูล ฝั่งตะวันตกตรงจุดที่อยู่ในแนวเส้นตั้งฉากกับศูนย์กลางถนนไปบ้านส้ม   ตรงจุดที่อยู่ห่างจากจุดศูนย์กลางที่คลองส่งน้ำโครงการสูบน้ำด้วยไฟฟ้าคลองซ้ายใหญ่ (สายเอ เดิม) บรรจบกับถนนไปบ้านส้ม ตามแนวถนนไปบ้านส้ม ไปทางทิศเหนือระยะ ๑๐๐ เมตร

         จากหลักเขตที่ ๒   เป็นเส้นตั้งฉากกับศูนย์กลางถนนไปบ้านส้ม ไปทางทิศตะวันออกผ่านถนนไป บ้านส้ม ถึงหลักเขตที่ ๓ ซึ่งตั้งอยู่ริมถนนไปบ้านส้มฟากตะวันออก ตรงจุดที่อยู่ห่างจากจุดศูนย์กลางที่คลองส่งน้ำโครงการสูบน้ำด้วยไฟฟ้า คลองซ้ายใหญ่ (สายเอ เดิม) บรรจบกับถนนไปบ้านส้ม ตามแนวถนนไปบ้านส้ม    ไปทางทิศเหนือ ระยะ ๑๐๐ เมตร

         ทิศตะวันออก จากหลักเขตที่ ๓ เป็นเส้นเลียบริมถนนไปบ้านส้ม ฟากตะวันออกไปทางทิศใต้ และเลียบริมคลองส่งน้ำโครงการสูบน้ำด้วยไฟฟ้า คลองซ้ายใหญ่ (สายเอ เดิม) ฝั่งตะวันออก ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ผ่านคลองซอย ๑ ซ้ายเดิม ถึงหลักเขตที่ ๔ ซึ่งตั้งอยู่ริมคลองซอย ๑ ซ้ายเดิม ฝั่งใต้ ตรงจุดที่แนวริมคลองส่งน้ำ โครงการสูบน้ำด้วยไฟฟ้า คลองซ้ายใหญ่ (สายเอ เดิม) ฝั่งตะวันออกบรรจบกับริมคลองซอย ๑ ซ้ายเดิม ฝั่งใต้

         จากหลักเขตที่ ๔  เป็นเส้นเลียบริมคลองซอย ๑ ซ้ายเดิม ฝั่งใต้ ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ระยะ ๕๕๐ เมตร และเป็นเส้นตรงไปทางทิศใต้ ผ่านทางหลวงจังหวัดหมายเลข ๒๑๖๒ แยกทางหลวงหมายเลข๒๒๔ (นครราชสีมา) – กระสัง (บุรีรัมย์) ถึงหลักเขตที่ ๕ ซึ่งตั้งอยู่ริมทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ            ฟากเหนือ ตรงจุดที่ริมทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ ฟากเหนือ ตัดกับแนวเขตป่าสงวนแห่งชาติ     (หนองเต็ง – จักราช)

         จากหลักเขตที่ ๕   เป็นเส้นเลียบแนวเขตป่าสงวนแห่งชาติ (หนองเต็ง – จักราช) ไปทางทิศใต้  ถึงหลักเขตที่ ๖ ซึ่งตั้งอยู่ตรงแนวเขตป่าสงวนแห่งชาติ (หนองเต็ง – จักราช) ตามแนวเส้นขนานกับศูนย์กลางทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ ระยะ ๑,๐๐๐ เมตร

         ทิศใต้ จากหลักเขตที่ ๖ เป็นเส้นขนานกับศูนย์กลางทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ ระยะ ๑,๐๐๐ เมตร ไปทางทิศตะวันตก ผ่านถนน รพช.นม. ๑๑๐๔๕ ท่าช้าง–หนองหัวแรด และแม่น้ำมูล ถึงหลักเขตที่ ๗  ซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำมูล ฝั่งเหนือ

          ทิศตะวันตก จากหลักเขตที่ ๗   เป็นเส้นเลียบริมแม่น้ำมูล ฝั่งเหนือ และฝั่งตะวันตกไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ผ่านทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือและทางหลวงจังหวัดหมายเลข ๒๑๖๒ แยกทางหลวงหมายเลข ๒๒๔ (นครราชสีมา) – กระสัง (บุรีรัมย์) บรรจบหลักเขตที่ ๑

แผนที่เทศบาลตำบลท่าช้างโดยสังเขป

               

สภาพภูมิประเทศ

         สภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นที่ราบสูง มีแม่น้ำมูล ลำบริบรูณ์ และลำห้วย ๒ สาย ไหลผ่านพื้นที่ของเขตเทศบาล และประชาชนใช้เป็นแหล่งน้ำในการเพาะปลูก อุปโภคและบริโภค

สภาพภูมิอากาศ

         ฤดูร้อน   เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม – พฤษภาคม ของทุกปี มีอุณหภูมิเฉลี่ย ๓๓ องศาเซลเซียส

         ฤดูฝน     เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน – กันยายนของทุกปี ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย ๗๙.๖๐ มิลลิเมตร

         ฤดูหนาว  เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม – กุมภาพันธ์ของทุกปี มีอุณหภูมิเฉลี่ย ๒๕ องศาเซลเซียส

ด้านโครงสร้างพื้นฐาน

   (๑) การคมนาคมขนส่ง

               ทางบก จากจังหวัดนครราชสีมา สามารถเดินทางได้ คือ

๑)    เส้นทางหลวงหมายเลข ๒๒๖ จากจังหวัดถึงอำเภอ ระยะทางประมาณ ๑๘ กิโลเมตร  จากจังหวัดถึงอำเภอสามารถเดินทางต่อไปได้ถึงจังหวัดบุรีรัมย์ สุรินทร์ อุบลราชธานี และเส้นทางที่ตัดไปยังจังหวัดอื่น ๆ อีก นอกจากรถโดยสารที่วิ่งระหว่างจังหวัดนครราชสีมา หรือจากกรุงเทพฯ ถึงบุรีรัมย์ สุรินทร์ อุบลราชธานี และยังมีรถประจำทางเป็นรถโดยสารขนาดกลาง และรถสองแถววิ่งระหว่าง จังหวัดนครราชสีมา – ท่าช้าง (เขตสุขาภิบาลท่าช้าง) อีกด้วย

๒)    เส้นทางหลวงหมายเลข ๒ จากกรุงเทพฯ–นครราชสีมา–ขอนแก่น จากถนนหมายเลข ๒    เมื่อออกจากจังหวัดนครราชสีมา ถึงทางแยกเข้าวัดพนมวัน และเขตตำบลหนองงูเหลือม สามารถตัดเข้าอำเภอเฉลิมพระเกียรติได้

๓)    เส้นทางจากอำเภอโชคชัย   จังหวัดนครราชสีมา   เมื่อถึงบ้านด่านเกวียน สามารถเลี้ยวเข้าถนนของกรมโยธาธิการ มาออกที่บ้านพระพุทธเขตอำเภอเฉลิมพระเกียรติ โดยเป็นถนนลาดยางมาตรฐาน

๔)    ทางรถไฟเดินทางโดยขบวนรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือกรุงเทพฯ - อุบลราชธานี กรุงเทพฯ – สุรินทร์ มีรถผ่านเป็นประจำทุกวัน

             ทางอากาศ กรมการบินพาณิชย์ได้ก่อสร้างท่าอากาศยานนครราชสีมา แห่งใหม่ขึ้นที่บ้าน   หนองเต็ง ตำบลช้างทอง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ ขณะนี้กำลังดำเนินการขอรับการสนับสนุนให้สนามบินพาณิชย์แห่งใหม่นี้ เป็นสนามบินนานาชาติให้สามารถรองรับเครื่องบินได้ทุกขนาด

    (๒)  การไฟฟ้า

         มีหน่วยบริการผู้ใช้ไฟฟ้าสังกัดการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค อำเภอเฉลิมพระเกียรติ ปริมาณการผลิตกระแสไฟฟ้าเพียงพอกับความต้องการชองประชาชนภายในเขตเทศบาล โดยจะมีไฟฟ้าใช้ทุกหมู่บ้าน  แต่เทศบาลยังขาดระบบไฟฟ้าสาธารณะครอบคลุมทั่วพื้นที่

     (๓)  การไปรษณีย์

         ระบบการสื่อสารในเขตเทศบาลตำบลท่าช้าง จะมีที่ทำการไปรษณีย์หมู่บ้าน ๑ แห่ง อยู่ภายใต้การดำเนินการของภาคเอกชน

    (๔) การโทรศัพท์

         มีโทรศัพท์สาธารณะติดตั้งประมาณ ๑๗ เครื่อง ซึ่งยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของประชาชนภายในเขตเทศบาล และโทรศัพท์เคลื่อนที่ มีทั้งหมดประมาณ ร้อยละ ๖๐ ต่อประชากรทั้งหมด

    (๕)  การธนาคาร

         มีธนาคารอยู่ในเขตเทศบาลตำบลท่าช้าง จำนวน ๑ แห่ง คือธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร แต่มีการบริการตู้เอทีเอ็ม ของธนาคารกรุงไทย จำนวน ๑ แห่ง ธนาคารออมสิน ๑ แห่ง    ธนาคารไทยพาณิชย์ ๑ แห่ง และธนาคารกรุงเทพ ๑ แห่ง

    (๖)  การประปา

         เทศบาลไม่มีการประปาบริการประชาชนภายในเขตเทศบาล เนื่องจากการประปาอยู่ในความรับผิดชอบของการประปาส่วนภูมิภาคจังหวัดนครราชสีมา

    (๗)  การกีฬา นันทนาการ

         เทศบาลมีแหล่งนันทนาการและพักผ่อน ดังนี้

         - มีสวนสาธารณะ จำนวน ๓ แห่ง

         - ห้องสมุดประชาชน จำนวน ๒ แห่ง

         - ลานกีฬาจำนวน ๔ แห่ง

    (๘)  สภาพการจราจร

         ในเขตเทศบาลจะมีปัญหามาก เพราะสภาพการจราจรถนนที่เชื่อมระหว่างหมู่บ้านส่วนใหญ่จะเป็นถนนลูกรังผสมหินกรวด   ในช่วงฤดูฝนจะทำให้เป็นหลุมเป็นบ่อเกิดน้ำท่วมขัง ถนนเกิดการชำรุดเสียหายเนื่องจากการกัดเซาะของน้ำ จากเหตุที่ถนนสร้างไม่ได้มาตรฐานนี้ทำให้ประชาชนภายในเขตที่ใช้เส้นทางสัญจรไปมาได้รับความเดือดร้อนประกอบกับประชาชนส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม ทำให้การส่งสินค้าและพืชผลต่าง ๆ ทางการเกษตรเป็นไปด้วยความลำบาก

          - ถนนในเขตเทศบาลตำบลท่าช้าง

    ๑) ถนนคสล.    จำนวน              ๑๒๓           สาย

    ๒) ถนนดิน       จำนวน               ๑๔           สาย

    ๓) ถนนลูกรัง    จำนวน                ๒๐           สาย

    ๔) ถนนลาดยาง จำนวน                 ๔           สาย

          - สะพานในเขตเทศบาลตำบลท่าช้าง

    ๑) สะพานคอนกรีต จำนวน              ๒           แห่ง

    ๒) สะพานเหล็ก     จำนวน              ๑           แห่ง

      (๙)  การใช้ประโยชน์ที่ดิน

ที่

บ้าน

พื้นที่รวมทั้งหมู่บ้าน

ที่ราบ

%

แหล่งน้ำ

%

ประเภทการใช้พื้นที่ (%)

จำนวน(ไร่)

ร้อยละ

ของพื้นที่

ที่อยู่อาศัย

พาณิชย์

เกษตร

ประมง

สาธารณะ

บ้านขาม

๘๒๕

๑๖.๕

๘๐

๒๐

๗๐.๕

๐.๕

บ้านหนองหอย

๘๗๕

๑๗.๕

๙๗

๑๕

๗๗.๕

-

๑.๕

บ้านโนนสะเดา

๔๐๖

๘.๑๓

๙๗

๑๕

๑.๗

๘๐

-

๐.๓

บ้านช่องโค

๗๕๐

๑๕

๗๕

๒๕

๒๐

๑๐

๒๕

๒๐

บ้านมะดัน

๖๘๑

๑๓.๖๓

๖๕

๓๕

๒๘

๑๒

๒๔.๕

๐.๘

บ้านหนองบัว

๕๐๐

๑๐

๖๐

๔๐

๑๕

๔.๒

๔๐

๐.๘

บ้านท่าช้าง

๓๑๓

๖.๒๕

๘๕

๑๕

๔๐

๙.๘

๓๕

-

๐.๒

บ้านตลาดท่าช้าง

๕๐๐

๑๐

๙๗

๓๕

๕๐

๑๑.๘

-

๐.๒

ชุมชนตำรวจ

๑๓๑

๒.๖๑

๙๘

๖๕

๒๗.๗

-

๒.๓

 

 

 

 

- จำนวนผู้เข้าชม จำนวน 918186 คน ตั้งแต่วันที่ 25 สิงหาคม 2563 - ปัจจุบัน